Welcome to MNYTECHNIC & SUPPLY.

ที่อยู่ 300/15 หมู่ 7 ต.พานทอง อ.พานทอง จ.ชลบุรี 20160

Categories
Uncategorized

เปิดแอร์แล้วลมไม่ค่อยเย็น

เปิดแอร์แล้วลมไม่ค่อยเย็น

ถ้าเปิดแอร์ไปเป็นสิบนาทีแล้วลมไม่เย็นล่ะ หรือลมที่แอร์เป่าออกมามันไม่ค่อยแรงล่ะ เราจะทำอย่างไรได้บ้าง วันนี้เราไปดูวิธีแก้ง่ายๆกันเองได้เลยครับ

วิธีแก้ง่ายๆ เปิดแอร์แล้วไม่ค่อยมีลม และลมไม่ค่อยเย็น
ตามปกติแล้วถ้าแอร์ไม่เย็นเราก็มักจะเรียกช่างแอร์ให้มาดู หรือมาล้างแอร์กันก่อน แต่ในช่วงหน้าร้อนแบบนี้ช่างแอร์คิวยาวมาก แถมยังคนยังเล่นตัวราวกับเป็นดาราดังอีกด้วย ฉะนั้นเราก็ลองมาแก้ปัญหาแอร์ไม่เย็นกันเองก่อนเลยครับ

1. ล้างแผ่นกรอง – ขั้นแรกเลย เราก็ไปล้างทางเข้าของลมกันก่อนเลยครับ ซึ่งเวลาที่ลมพัดเข้ามาในแอร์นั้นก็จะไปเจอกับแผ่นกรองกันก่อน แล้วเราใช้งานไปสักพักแผ่นกรองแอร์เหล่านี้ก็จะสกปรกมีฝุุ่นอยู่เต็มไปหมดครับ ดังนั้นเราก็ต้องถอดมาล้าง ทำความสะอาดกันก่อนเลยครับ

วิธีล้างก็ง่ายๆ ฉีดๆน้ำให้ฝุ่นที่ติดอยู่ออกไปให้หมดก็ได้แล้วครับ หรือจะออกแรงแปรงเบาๆก็เพียงพอแล้วครับผม นอกจากนั้นก็ไปฉีดน้ำที่แผ่นทำความเย็นกันด้วยนะครับ ใช้ฟ็อกกี้ฉีดๆเข้าไปครับ เดี๋ยวก็สะอาดขึ้นมาเอง

2. ล้างกรงกระรอกเป่าลม – จากนั้นเราก็ดูที่ทางออกของแอร์กันต่อ โดยปกติแอร์ส่วนมากก็จะใช้กรงกระรอกในการเป่าให้ลมพัดออกมา แต่ทีนี้ที่กรงกระรอกนั้นเป็นตัวเก็บฝุ่นที่ดีมากๆและเมื่อมีฝุ่นอยู่มากๆ เวลาที่กรงกระรอกแอร์หมุนไป ลมก็ไม่ค่อยออกครับ

วิธีล้างก็หาแปรงมาปัดๆ แต่ทีนี้ชีวิตไม่ได้ง่ายขนาดนั้นครับ เพราะฝุ่นเล็กๆจะตกลงมาเยอะมากๆ เพื่อนๆก็ควรหาผ้าหรือหาอะไรมารองรับฝุ่นต่างๆเอาไว้ด้วยครับ มิเช่นนั้นเราต้องไปกวาดห้องกันยกใหญ่แน่นอน

แล้วอยากให้แอร์เป่าลมออกมาแรงๆ เราก็ต้องแปรงให้ลมออกมามากที่สุด ใช้เวลากับกรงกระรอกนานหน่อยครับ รับรองว่าแอร์จะเป่าลมออกมาแอร์ขึ้นแน่นอน

3. ล้างคอยล์ร้อน – สำหรับคอยล์ร้อนนั้น ถ้าเพื่อนๆสะดวกในการทำความสะอาดก็ออกไปฉีดๆน้ำสักนิดนึงครับ เพราะแอร์จะได้ระบายความร้อนได้ดีมากขึ้น ทำให้อากาศเย็นได้เร็วขึ้นและประหยัดไฟเพิ่มขึ้นด้วยครับ

สุดท้ายแล้วถ้าทำทั้ง 3 ขั้นตอนแล้วแอร์ที่บ้านก็ยังไม่เย็น แบบนี้ลองตามช่างให้มาดูกันก่อนนะครับ

Cr. https://buildsweethome.blogspot.com/2018/03/air-conditioner-is-not-cool.html

Categories
Uncategorized

แอร์เป็นน้ำแข็ง แก้ด้วยตัวเองอย่างไร

แอร์เป็นน้ำแข็ง แก้ด้วยตัวเองอย่างไร

แอร์เป็นน้ำแข็ง ปัญหาใหญ่และสำคัญของหลายบ้าน ด้วยอากาศที่ร้อนอบอ้าวในแต่ละวัน แอร์จึงเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งในการช่วยเพิ่มความเย็น และคลายความร้อน ปัญหาแอร์เป็นน้ำแข็ง เป็นสิ่งที่หนักอกหนักใจอย่างมาก เพราะถ้าไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที จะเกิดปัญหาหลายอย่างตามมาได้ วันนี้ Baania จึงขอนำเสนอสาเหตุและวิธีการแก้ไขง่ายๆ ด้วยตนเองมาฝากกัน เพื่อให้ทุกท่านสามารถนำไปตรวจเช็คแอร์ที่บ้านว่ามีปัญหาเหล่านี้หรือไม่

สาเหตุที่แอร์เป็นน้ำแข็ง

แอร์เป็นน้ำแข็ง สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การที่แอร์เป็นน้ำแข็ง ไม่ได้แปลว่ายิ่งให้ความเย็นได้ดี แต่ในทางตรงกันข้าม แอร์เป็นน้ำแข็ง จะทำให้แอร์เกิดปัญหาขัดข้อง ไม่สามารถระบายความเย็นออกมาได้ จนเกิดความเสียหาย หรือชำรุด สาเหตุต่างๆ ที่ทำให้แอร์เป็นน้ำแข็ง ดังนี้

1. ใช้งานหนัก

หากมีการใช้งานแอร์หนัก หรือมากเกินไป ขาดการดูแล เช่น ไม่ได้รับการล้างแอร์ ทำความสะอาด หรือการตรวจเช็คในส่วนต่างๆ ก็จะทำให้แอร์เป็นน้ำแข็งได้

2. เกิดความขัดข้อง

หากชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ส่วนใดของแอร์เกิดความขัดข้อง จะทำให้แอร์เป็นน้ำแข็งได้ เช่น แผงกรองอากาศเกิดการอุดตัน หรือแผงคอยล์สกปรก จึงไม่สามารถสร้างความเย็น จนแอร์เป็นน้ำแข็ง หรือเทอร์โมนิเตอร์ไม่ยอมตัด ทำให้คอมเพรสเซอร์แอร์ทำงานตลอดเวลา

3. แผงคอยล์เย็นและตัน

เมื่อไม่ได้มีการล้างแอร์ ทำให้แผงคอยล์มีคราบสกปรก ในขณะที่แผงคอยล์เย็นมากๆ จนไม่สามารถระบายลมออกมาได้สะดวก เพราะช่องแผงอุดตัน จึงทำให้แผงคอยล์เป็นน้ำแข็ง

4.  น้ำยาแอร์รั่ว

หากแอร์ของท่านมีน้ำยาแอร์รั่วซึมออกมา จะทำให้น้ำยาในระบบเหลือในปริมาณที่น้อยลง จนเกิดน้ำแข็งเกาะ

5. มอเตอร์พัดลมคอยล์เย็นหมุนช้า

เมื่อมอเตอร์พัดลมคอยล์เย็นหมุนช้าลง หรือไม่ยอมหมุนจะทำให้แอร์มีน้ำแข็งเกาะอยู่ เพราะระบบไม่ยอมระบายอากาศเย็นออกไป

สาเหตุที่แอร์เป็นน้ำแข็ง

การแก้ปัญหาแอร์เป็นน้ำแข็งด้วยตัวเอง

หากท่านกำลังพบกับปัญหาดังกล่าว สามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตัวเอง คือการล้างแอร์ ทำความสะอาดส่วนต่างๆ และการตรวจเช็คจุดรั่วซึม ดังนี้

1. ล้างแอร์

ทำการล้างแอร์ได้ง่าย ๆ สามารถทำได้ด้วยตนเองโดยการนำแผงคอยล์ และถอดแผ่นกรองอากาศออกมาล้างทำความสะอาด วิธีการล้างง่าย ๆ ด้วยตนเองมีดังนี้

  • เตรียมอุปกรณ์สำหรับล้างแอร์ให้ครบ ได้แก่ สายยางหัวฉีด ผ้ายางขนาดยาว ถังน้ำสำหรับรองน้ำ เทปกาวเอาไว้สำหรับติดผ้ายางและตัวแอร์ บันได้หรือเก้าอี้สูงที่สามารถปีนล้างแอร์ได้ น้ำยางล้างจาน ฟองน้ำ ผ้าขนหนู และไขควง
  • เปิดฝาหน้าเพื่อถอดฟิลเตอร์ออก อย่าลืมปิดสวิตซ์ให้เรียบร้อย ทำการไขน็อตบริเวณด้านล่างใกล้บานสวิง และตามจุดต่างๆ  แล้วทำการถอดฝาครอบแอร์ออกอย่างระมัดรังวัง
  • ต่อมาให้ถอดบานสวิงออก เริ่มถอดจากตรงกลาง เมื่อถอดเสร็จ หาถุงใหญ่ๆ มาคลุมชุดแผงวงจรไว้ไม่ให้โดนน้ำ 
  • เตรียมเทปกาว ผ้ายางติดด้านข้างของแอร์ทั้งด้านซ้ายและขวา พยายามทำคล้ายรางน้ำ แล้ววางปลายผ้ายางไว้ที่ถังน้ำ เพื่อให้น้ำที่ล้างไหลลงในถัง
  • เริ่มขั้นตอนการล้าง โดยฉีดน้ำตามแนวท่อแอร์ ค่อยๆ ฉีดไล่น้ำ เพื่อไม่ให้น้ำกระเด็นไปโดยตัววงจรแอร์ เมื่อฉีดจนคราบสกปรกต่างๆ หลุดออกมา ก็ใช้น้ำยาล้างจานหรือน้ำยาล้างแอร์ ล้างทำความสะอาดอีกรอบ โดยเช็ดออกด้วยฟองน้ำที่เตรียม
  • หลังจากนั้น ทำความสะอาดคอมเพรสเซอร์แอร์ด้านนอก หรือคอยล์ร้อน เริ่มไขน็อตตามจุดต่างๆ ทั้งบนฝาซ้าย-ขวา ยกฝาขึ้น แล้วฉีดน้ำเข้าไปทำความสะอาด ใช้ถุงยางหรือถุงดำมาคลุมตัวระบบเครื่องให้มิดชิด เมื่อฉีดเสร็จจนสะอาด ให้นำถุงดำออก
  • เมื่อทำความสะอาดเรียบร้อย ใช้ผ้าแห้งเช็ด หรือใช้ที่เป่าลมเพื่อให้แห้งเร็ว หลังจากนั้นอาจจะทิ้งไว้สักครู่ แล้วประกอบแอร์กลับเข้าไปเหมือนเดิม แล้วรอเปิดแอร์ทิ้งไว้สักพัก 

        การล้างแอร์ด้วยตนเอง ท่านต้องรู้จักส่วนประกอบและโครงสร้างของแอร์ สามารถแกะและประกอบแอร์กับเข้าไปเหมือนเดิมได้ หากยังไม่เคยล้างควรมีการศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด

2. เช็คจุดรั่ว

       ท่านสามารถเช็คจุดรั่วของน้ำยาแอร์ ได้ด้วยตัวเอง ดังนี้

  • เช็คด้วยการสังเกตว่ามีคราบน้ำมันหยดหรือไม่ เพราะหากน้ำยาแอร์รั่ว จะเกิดคราบตรงจุดรั่ว เช่น จุดเชื่อมท่อต่อ จุดช่วงท่อต่อเชื่อมกับตัวแอร์ หากพบจุดรั่ว ต้องรีบแก้ไขทันที
  • เช็คด้วยฟองสบู่ ใช้แปรงทาสีหรือแปรงฟันจุ่มฟองสบู่หรือน้ำยาล้างจาน ทาลงบนท่อของน้ำยาแอร์ หากแอร์มีจุดรั่วจะมีฟองอากาศเกิดขึ้นมา ซึ่งเป็นสัญญาณว่าแอร์มีจุดรั่ว ต้องรีบแก้ไขทันที
  • เช็คด้วยเสียง ฟังเสียงลมที่ท่อแอร์ หากมีจุดรั่วจะได้ยินเสียงลมในบริเวณนั้น

แก้ปัญหาแอร์เป็นน้ำแข็ง

ปัญหาที่เกิดจากแอร์เป็นน้ำแข็ง

1. แอร์เสีย

การแอร์เป็นน้ำแข็ง และไม่มีการแก้ไข จะทำให้แอร์เสีย หรือเกิดความเสียหายของระบบตามจุดต่างๆ เพราะการที่แอร์เป็นน้ำแข็ง จะทำให้แอร์เกิดปัญหาขัดข้อง ไม่สามารถระบายความเย็นออกมาได้ จนเกิดความเสียหาย หรือชำรุด

2. แอร์ไม่เย็น

แอร์ไม่เย็นเพราะแอร์มีการอุดตันอยู่ภายในจึงไม่มีการระบายอากาศ หรือความเย็นออกมา ทำให้เกิดปัญหาแอร์เย็นช้ากว่าปกติ หรือไม่เย็นเลย

3. ค่าไฟเพิ่มขึ้น

หากแอร์ของท่านมีการอุดตันจากคราบสกปรก จนทำให้แอร์เกิดน้ำแข็งเพราะไม่สามารถระบายอากาศออกมาได้ แต่ยังมีการทำงานของระบบ และหากไม่ได้มีการแก้ไขจะยิ่งทำให้ใช้ไฟมากขึ้นกว่าเดิม เกิดปัญหาค่าไฟที่เพิ่มขึ้นตามมา

4. เกิดไฟฟ้าลัดวงจร  

หากแอร์เป็นน้ำแข็ง จนเกิดการรั่วซึมของน้ำ อาจจะทำให้เกิดปัญหาไฟฟ้าลัดวงจรได้ ถ้าน้ำที่ไหลออกมาไปโดนระบบวงจรไฟฟ้าอื่นๆ ภายในบ้าน จะทำให้บ้านเกิดไฟฟ้าลัดวงจร หรือไฟไหม้บ้าน ปัญหาแอร์เป็นน้ำแข็งจึงไม่ใช่ปัญหาเล็กๆ  ดังนั้นอย่างลืมเช็คแอร์ที่บ้านอย่างละเอียด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาอื่นตามมา         

ปัญหาที่เกิดจากแอร์เป็นน้ำแข็ง

แอร์เป็นน้ำแข็ง สามารถแก้ได้ด้วยตัวเอง เพียงแต่ต้องมีการแก้ไขให้ถูกต้อง ต้องรู้สาเหตุที่เกิด ไม่ว่าจะเกิดจากการใช้งานที่หนักเกินไป ระบบการทำงานของแอร์เกิดความขัดข้อง ถึงแม้ว่าแอร์จะมีประโยชน์มากมาย แต่ก็มักจะมีปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ตามมาหลังการใช้งานเป็นเรื่องปกติ การหมั่นตรวจเช็คจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อป้องกันก่อนเกิดปัญหา

Cr. https://www.baania.com/article/แอร์เป็นน้ำแข็ง-5f210a67159c3b8ee6ffde23

Categories
Uncategorized

5 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการใช้แอร์

5 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการใช้แอร์

จากสภาพอากาศ และสภาพฤดูกาลที่เป็นหน้าร้อนไปกว่าครึ่งทำให้เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองของคนไทยนั้นต้องเป็นแอร์ ทุกๆ บ้านใช้แอร์เป็นตัวช่วยเปลี่ยนความร้อนระอุภายในบ้านให้เป็นสวรรค์บนดินด้วยความเย็น แต่เมื่อถึงสิ้นเดือนบิลค่าไฟออกอาจทำให้คนกุมอำนาจการใช้จ่ายภายในบ้านถึงกับหงายตึง และเกิดข้อสงสัยว่าทำไมถึงเป็นแบบนั้น? เมื่อคุณมาซื้อแอร์ที่เพาเวอร์บายแล้วนอกจากเราจะอยากให้คุณได้รู้วิธีการเลือกซื้อแอร์ที่เหมาะสมกับการใช้งานแล้ว เรายังอยากแก้ไขความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการใช้แอร์ของคุณด้วย เพราะนั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณใช้แอร์ที่บ้านได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ แถมยังอาจเป็นการใช้ไฟมากจนเกินจำเป็น ไปดูกันซิว่า 5 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการใช้แอร์นั้นมีอะไรบ้าง
 
ประหยัดเงินโดยการใช้แอร์เครื่องเก่า
 
ข้อนี้จัดเป็นความเชื่อผิดๆที่เป็นปัญหาเรื้อรังของหลายๆบ้าน เข้าตำราที่ว่า ‘เสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย’ แค่เปรียบเปรยเป็นคำพังเพยหลายคนคงยังนึกภาพตามไม่ออก แต่ถ้าให้ลองนึกถึงว่าแอร์เครื่องเก่าที่บ้านของคุณเสียค่าซ่อมบ่อยแค่ไหนต่อปี ค่าไฟแต่ละเดือนนั้นสูงขนาดไหน เปิดใช้แอร์แต่ละครั้งนานแค่ไหนถึงจะเย็น ตอนกลางคืนเคยสะดุ้งตื่นกลางดึกเพราะเสียงมอเตอร์แอร์ทำงานบ้างหรือเปล่า และที่พูดมานี้เกิดจากการที่คุณใช้แอร์เก่าทั้งสิ้น เมื่อลองบวกลบคูณหาร คำนวณดูแล้วการใช้แอร์เก่านั้นส่งผลเสียมากเกินกว่าที่คุณคิด การประหยัดเงินในทางที่ผิดนั้นส่งผลให้เงินในกระเป๋าของคุณปลิวออกจากตัวมากกว่าซื้อแอร์เครื่องใหม่ดีๆ ซักเครื่องเสียอีก
 
 
เปิด – ปิดแอร์บ่อยๆเพื่อช่วยประหยัดไฟ
 
บางบ้านที่ไม่ต้องการอยู่ในห้องแอร์เย็นๆ นานๆ แต่ชอบเปิดแอร์ให้เย็นฉ่ำช่วงหนึ่งแล้วค่อยปิดแอร์มาเปิดพัดลมแทน มักจะคิดว่าช่วยประหยัดไฟได้มาก เพราะตัดช่วงเวลาเปิดแอร์ไปเกินครึ่ง แต่ความเชื่อนี้ผิดมหันต์เพราะจริงๆแล้วช่วงการทำงานของแอร์ที่หนักที่สุดและกินไฟที่สุด นั้นคือช่วงที่เริ่มเปิดแอร์และสตาร์ทมอเตอร์ให้เร่งหมุนเพื่อสร้างความเย็น หลังจากที่ปรับอุณหภูมิห้องให้เย็นคงที่ได้แล้ว ถ้าอุณหภูมิไม่ได้สูงขึ้นจนผิดจากเดิมไปมากก็ไม่ได้ทำให้กินไฟเท่าไรนัก ดังนั้นการเปิดๆ ปิดๆ แอร์เป็นระยะเวลาสั้นๆ หลายๆครั้งจึงเปลืองไฟมากกว่าการเปิดแอร์ครั้งนึงแบบยาวๆเสียอีก รู้แบบนี้แล้วไม่ต้องคอยปิดแอร์ทุกทีที่รู้สึกว่าเย็น และเปิดใหม่เมื่อหมดไอแอร์หรอก เพราะนั่นมันกินไฟยิ่งกว่าที่คุณคาดคิดเสียอีก
 
 
กำหนดอุณหภูมิห้องได้เป๊ะด้วยรีโมตแอร์ 
 
หลายๆคนมักคิดว่าอุณหภูมิของห้องที่คุณเปิดแอร์สามารถควบคุมได้เป๊ะๆด้วยรีโมท เช่นกดรีโมทที่ 25 องศา อุณหภูมิภายในห้องก็จะอยู่ที่ 25 องศา ซึ่งนั่นเป็นความคิดที่ถูกเพียงครึ่งเดียว เพราะถูกเฉพาะกับแอร์ระบบอินเวอร์เตอร์เท่านั้นที่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้เป๊ะและคงที่เมื่อถึงอุณภูมิห้องถึงจุดที่คุณตั้งไว้ แต่กับแอร์ระบบธรรมดามักจะทำความเย็นให้มีอุณหภูมิต่ำกว่าที่คุณกำหนดไว้ซัก 1-2 องศา คุณจึงรู้สึกว่าเปิดแรกๆแอร์จะเย็นฉ่ำ แต่เมื่อแอร์จับได้ว่าอุณหภูมิสูงเกินจำเป็นจะทำให้แอร์ตัดและเริ่มใหม่นั่นเป็นจุดที่ทำให้คุณเปลืองไฟนั่นเอง
 
เวลาเลือกแอร์นั้นคนที่ศึกษาหาความรู้มาพอสมควรก็จะเลือกซื้อแอร์ที่ตามบีทียูที่เหมาะสมกับการใช้งาน แต่สำหรับมือใหม่หัดเลือกซื้อแอร์ ยิ่งในยุคดิจิตัลที่อะไรๆก็เร่งรีบ หลายบ้านมักตัดปัญหาโดยการเลือกแอร์ที่บีทียูมาก เพราะคิดว่าบีทียูยิ่งมากยิ่งดี ซึ่งนั่นเป็นความคิดที่ผิดเพราะถ้า BTU สูงไปคอมเพลสเซอร์แอร์จะตัดบ่อย ทำให้ความชื้นภายในห้องสูงแถมยังเปลืองไฟ แต่ถ้าเลือก BTU ต่ำเกินไป แอร์ก็จะทำงานหนัก แอร์ไม่ค่อยเย็น และยังทำให้แอร์เสียไวอีกด้วย ดังนั้นการเลือกบีทียูแอร์จึงควรเลือกให้พอดีกับขนาดของห้องและการใช้งาน ไม่สูงไป หรือต่ำไปเพราะไม่ว่าจะแบบไหนก็ส่งผลเสียต่อคุณทั้งนั้น
 
เปิดแอร์ไว้ที่ 25 องศาประหยัดไฟที่สุด
 
หลายๆบ้านมักเข้าใจผิดกับตัวเลข 25 องศาว่าช่วยให้คุณประหยัดไฟ จากการปลูกฝังมาช้านาน จริงๆแล้วการตั้งอุณหภูมิแอร์ไว้ที่ 25 องศาไม่ได้ประหยัดไฟที่สุด แต่เพราะอุณหภูมิ 25 องศานั้นเป็นค่าอุณหภูมิกลางๆที่เย็นกำลังดี เหมาะกับอากาศของบ้านเรา แต่สำหรับบางคนที่คิดว่าอุณหภูมิ 26-28 องศาก็เย็นพอแล้วก็ไม่จำเป็นต้องตั้งอุณหภูมิไปเป็น 25 องศา เพราะยังไงการตั้งอุณหภูมิสูงก็ย่อมประหยัดไฟได้มากกว่าการตั้งอุณหภูมิต่ำอยู่แล้ว
Categories
Uncategorized

6 สาเหตุแอร์เสียงดัง เกิดจากอะไร แก้ยังไงมาดู

6 สาเหตุแอร์เสียงดังเกิดจากอะไร แก้ยังไงมาดู

6 สาเหตุที่ทำให้แอร์เสียงดังและวิธีแก้ไข

เครื่องปรับอากาศ (แอร์) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้เรารู้สึกเย็นสบายภายในบ้านหรือที่ทำงาน แต่บางครั้งเราอาจพบปัญหาแอร์มีเสียงดังผิดปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดความรำคาญและเป็นสัญญาณเตือนว่าแอร์กำลังมีปัญหา มาดูกันว่าสาเหตุของเสียงดังเกิดจากอะไร และสามารถแก้ไขได้อย่างไรบ้าง


1. ใบพัดหรือพัดลมแอร์มีสิ่งกีดขวาง

สาเหตุ

  • มีสิ่งแปลกปลอม เช่น ใบไม้ ฝุ่น หรือเศษขยะติดอยู่ในใบพัดของแอร์

  • ใบพัดหรือมอเตอร์พัดลมอาจหลวมหรือผิดตำแหน่ง

  • มีฝุ่นสะสมมากเกินไปทำให้เกิดเสียงเสียดสีขณะหมุน

วิธีแก้ไข

  • ปิดเครื่องปรับอากาศและตรวจสอบพัดลมทั้งภายในและภายนอกว่ามีสิ่งแปลกปลอมติดอยู่หรือไม่

  • ใช้แปรงหรือเครื่องดูดฝุ่นทำความสะอาดใบพัดและช่องระบายอากาศ

  • หากพบว่าใบพัดหลวม ให้ขันน็อตให้แน่นหรือปรับตำแหน่งให้ถูกต้อง


2. คอมเพรสเซอร์ทำงานผิดปกติ

สาเหตุ

  • คอมเพรสเซอร์เสื่อมสภาพหรือมีชิ้นส่วนภายในเสียหาย

  • มีปัญหาแรงดันน้ำยาทำความเย็นไม่ปกติ

  • ระบบภายในของคอมเพรสเซอร์เกิดการสึกหรอ ทำให้เกิดเสียงดัง “กึกกัก” หรือ “ฮัมม์”

วิธีแก้ไข

  • ตรวจสอบแรงดันน้ำยาแอร์ว่ามีปริมาณเพียงพอหรือไม่ หากน้อยเกินไปควรเติมน้ำยาโดยช่างผู้เชี่ยวชาญ

  • หากคอมเพรสเซอร์เริ่มเสื่อมสภาพ อาจต้องเปลี่ยนใหม่หรือให้ช่างตรวจสอบและซ่อมแซม

  • หลีกเลี่ยงการใช้งานแอร์เกินกำลังเพื่อลดภาระของคอมเพรสเซอร์


3. น็อตและโครงสร้างแอร์หลวมหรือสึกหรอ

สาเหตุ

  • น็อตหรือโครงสร้างบางส่วนของแอร์เริ่มหลวมจากการสั่นสะเทือนขณะทำงาน

  • ตัวเครื่องอาจไม่ได้ติดตั้งแน่นหนาหรือมีการติดตั้งผิดพลาด

วิธีแก้ไข

  • ตรวจสอบว่าน็อตยึดตัวเครื่องอยู่ในสภาพดีหรือไม่ หากพบว่าหลวมให้ขันให้แน่น

  • ตรวจสอบฐานยึดของแอร์ หากติดตั้งไม่แน่นหนาควรปรับแก้ให้เหมาะสม

  • หากตัวเครื่องเก่าหรือเสื่อมสภาพ ควรพิจารณาเปลี่ยนอะไหล่บางส่วน


4. น้ำยาแอร์รั่วหรือปริมาณไม่เพียงพอ

สาเหตุ

  • น้ำยาแอร์รั่วจากท่อส่งหรือข้อต่อที่เสื่อมสภาพ

  • ปริมาณน้ำยาแอร์ลดลง ทำให้คอมเพรสเซอร์ทำงานหนักขึ้นและเกิดเสียงดัง

วิธีแก้ไข

  • ตรวจสอบว่ามีจุดรั่วของน้ำยาแอร์หรือไม่ โดยสังเกตคราบน้ำมันหรือน้ำแข็งเกาะที่ท่อแอร์

  • เรียกช่างผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจเช็ครอยรั่วและเติมน้ำยาแอร์ให้เหมาะสม

  • หมั่นบำรุงรักษาระบบน้ำยาแอร์เป็นประจำเพื่อลดปัญหาการรั่วซึม


5. ท่อแอร์หรือคอยล์เย็นมีปัญหา

สาเหตุ

  • ท่อแอร์เกิดการอุดตัน ทำให้มีเสียงลมหรือเสียงน้ำไหลผิดปกติ

  • คอยล์เย็นมีฝุ่นสะสมมาก ทำให้เกิดเสียงเสียดสีขณะทำงาน

วิธีแก้ไข

  • ล้างคอยล์เย็นและคอยล์ร้อนเป็นประจำเพื่อลดฝุ่นสะสม

  • ตรวจสอบท่อระบายน้ำทิ้งว่ามีสิ่งอุดตันหรือไม่ หากมี ให้ทำความสะอาด

  • หากพบว่าท่อแอร์มีรอยรั่วหรือเสื่อมสภาพ ควรให้ช่างเข้ามาตรวจสอบและซ่อมแซม


6. พื้นที่ติดตั้งแอร์ไม่เหมาะสม

สาเหตุ

  • ติดตั้งแอร์ใกล้ผนังหรือมุมแคบ ทำให้เสียงสะท้อนและดังมากขึ้น

  • แอร์อยู่ในตำแหน่งที่มีแรงสั่นสะเทือนสูง เช่น ใกล้ถนนหรือที่ที่มีแรงสั่นสะเทือนจากเครื่องจักร

  • ฐานยึดแอร์ไม่มั่นคง ทำให้เกิดเสียงสั่นขณะทำงาน

วิธีแก้ไข

  • ปรับตำแหน่งแอร์ให้อยู่ในที่เหมาะสม ห่างจากผนังหรือพื้นที่ที่มีเสียงสะท้อนมากเกินไป

  • ตรวจสอบฐานยึดแอร์ว่าแน่นหนาหรือไม่ หากพบว่าไม่มั่นคงให้ปรับแก้ไข

  • หากมีเสียงสะท้อนจากผนังมาก อาจใช้วัสดุดูดซับเสียง เช่น โฟมซับเสียงหรือฉนวนกันเสียง


สรุป

แอร์ที่มีเสียงดังผิดปกติสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ใบพัดหลวม คอมเพรสเซอร์มีปัญหา น็อตหลวมหรือโครงสร้างไม่มั่นคง น้ำยาแอร์รั่ว หรือการติดตั้งในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม วิธีแก้ไขส่วนใหญ่สามารถทำได้เอง เช่น การทำความสะอาดใบพัด ล้างคอยล์เย็น หรือขันน็อตให้แน่น แต่หากเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบภายใน เช่น คอมเพรสเซอร์เสียหรือน้ำยาแอร์รั่ว ควรเรียกช่างผู้เชี่ยวชาญเข้ามาตรวจสอบและซ่อมแซมเพื่อให้แอร์กลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเงียบสงบอีกครั้ง